นมัสการ 9 วัด อยุธยา
ประเทศ : ภาคกลางของไทย
ระยะเวลา : ติดต่อสอบถาม
ราคา : ติดต่อสอบถาม
รายละเอียด : กำหนดการเดินทาง
07.00 น.
-
คณะพร้อมกันที่จุดนัดบริษัท
พบเจ้าหน้าที่บริษัทเอนันต์ดาทัวร์ จำกัด คอยอำนวยความ สะดวก ออกเดินทางโดยรถตู้ปรับอากาศ บริการอาหารว่าง(1)และเครื่องดื่มตลอดการเดินทางมุ่งหน้า สู่อยุธยา นำท่าน สู่วัด
วัดพนัญเชิง มหามงคล ด้านการค้านพาณิชย์รุ่งเรือง ความสำเร็จในงาน วัดพนัญเชิง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสักทางทิศใต้ฝั่งตรงข้ามของเกาะเมือง “พระพุทธเจ้าพนัญเชิง” พระพุทธรูปองค์จึงนี้ได้ พระราชทานนามใหม่ว่า “พระพุทธไตรรัตนนายก” (ชาวบ้านนิยมเรียกหลวงพ่อโต ชาวจีน นิยมเรียกว่า ซำปอกง) เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยลงรักปิด ฝีมือปั้นงดงามมาก อาจนับได้ว่า เป็นพระพุทธรูปนั่งสมัยอยุธยาตอนต้น ที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน
นำท่านนมัสการ วัดที่สอง
วัดใหญ่ชัยมงคล มหามงคลด้านชัย – มงคล เมตตามหานิยม ได้รับพระราชทานนามว่า วัดป่าแก้ว ต่อมาเป็นที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าวันรัต
- พระสังฆราชฝ่ายวิปัสนา ชาวบ้านจึงเรียกวัดนี้ว่า “วัดเจ้าพระยาไทย” ได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระนเรศวร ว่า “เจดีย์ชัยมงคล” สร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติยศ ที่ทรงกระทำยุทธหัตถีชนะสมเด็จพระมหาอุปราชาแห่งพม่า พระศักดิ์สิทธิ์คู่วัดนี้ได้แก่ พระนอนขนาดใหญ่ ซึ่งสร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวร
นำท่านนมัสการ วัดที่สาม
วัดพระญาติการาม เมตตามหานิยม บูชาพระรัตนตรัย วัดพระญาติการาม หรือที่ชาวบ้านทั่วไปมักเรียกกันว่า “วัดพระญาติ” สิ่งศักดิ์สิทธิ์และสิริมงคลของวัดนี้ คือพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา
จากนั้นนำท่านนมัสการ วัดที่สี่
วัดสมณโกฐาราม บูชาบูรพกษัตริย์ กตัญญูกตเวทิตา เมตตามหามงคล เป็นวัดที่เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) และเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช วัดนี้มีพระปรางค์องค์ใหญ่งดงามมาก รูปทรงสัณฐานแปลกตากว่าที่อื่น สันนิษฐานว่าเลียนแบบมาจากวัดเจดีย์เจ็ดยอด เมื่อคราวที่เจ้าพระยาโกษา (เหล็ก) ไปตีเมืองเชียงใหม่ เมื่อพ.ศ. 2205 ภายในอุโบสถ มีพระประธานเก่าแก่ซึ่งสร้างสมัยอยุธยา เป็นที่เคารพสักการะของคนทั่วไป
12.00 น.
- รับประทานก๋วยเตี๋ยวหม้อดิน ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา(2)
บ่าย
- วัดที่ห้า
วัดประดู่ทรงธรรม เมตตามหานิยม การช่วยเหลือสรรพสัตว์และการ เสียสละ เดิมชื่อวัดประดู่ หรือวัดประดู่โรงธรรม ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างสมัยใด ภายใน พระอุโบสถ มีภาพจิตรกรรมฝาผนังในสมัยรัตนโกสินทร์
วัดที่หก พระบรมสารีริกธาตุ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา บูชาพระบรมสารีริกธาตุ ถือเป็นมงคลสูงสุดของชีวิต ขุดพบพระบรมสารีริกธาตุนี้จากกรุพระปรางค์วัดมหาธาตุ พระบรมสารีริกธาตุ หมายถึง พระอัฐิธาตุ ของพระพุทธเจ้า ซึ่งพุทธศาสนิกชน จะมีความเชื่อถือในอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่มีอยู่กับพระบรมสารีริกธาตุนั้น
วัดที่เจ็ด
วิหารพระมงคลบพิตร พระคู่บ้าน คู่เมืองอยุธยา สิริมงคลทุกด้าน พระมงคลบพิตรเป็น พระพุทธรูปบุสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย นับเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่องค์หนึ่งในประเทศไทย สมเด็จพระเจ้า ทรงธรรม โปรดให้ชะลอมาไว้ ณ ที่ปัจจุบัน ต่อมาฟ้าผ่ายอดมณฑปที่สวมไว้ พระเจ้าเสือจึงโปรดให้ ก่อสร้างใหม่เป็นวิหาร ในคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 วิหารพระมงคลบพิตรถูกไฟไหม้ รัชกาลที่ 5 จึง โปรดเกล้าฯ ให้มีการปฏิสังขรณ์ใหม่
วัดที่แปด
วัดธรรมิกราช เมตตามหานิยม คุ้มครองรักษา โรคภัยอันตราย เป็นวัดสงฆ์มหานิกาย เดิมชื่อวัดมุขราช ที่วิหารหลวงแห่งนี้ เคยเป็นที่ประดิษฐ์ของเศียร พระพุทธรูปหล่อสัมฤทธิ์ ศิลปะสมัยอู่ทอง ซึ่งปัจจุบัน กรมศิลปากรนำไปไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เจ้า สามพระยา ปิดท้ายกันที่
วัดที่เก้า
วัดหน้าพระเมรุราชิการาม มหามงคล ความเจริญรุ่งเรือง เมตตามหานิยม มีชื่อเดิมว่า “วัดพระเมรุราชิการาม” วัดนี้เป็นวัดเดียวในกรุงศรีอยุธยา ที่ไม่ได้ถูกพม่า ทำลายและยังคงปรากฏสถาปัตยกรรมแบบอยุธยา อยู่ในสภาพสมบูรณ์มากที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดินทางสู่กรุงเทพฯ
18.30 น.
- ถึงกรุงเทพมหานครโดยสวัสดิภาพ
สิ่งที่ควรนำไปด้วย
- รองเท้าสวมสบาย ยาประจำตัว กล้องถ่ายรูป ฯลฯ
กำหนดการเดินทาง : ติดต่อสอบถาม